Skip to Content

เครื่องหนัง 5 ชนิด ที่ไม่ควรพลาด!

หากพูดถึง “หนังแท้” หลายคนอาจนึกถึงพวก หนังวัว, หนังแกะ, หนังจระเข้ หรือหนังงู เพราะหนังของสัตว์จำพวกนี้สามารถนำมาทำเป็น กระเป๋าหนัง, รองเท้าหนัง, และเสื้อหนังแท้ๆ ให้เราได้ใช้กันตั้งแต่อดีต จนมาถึงปัจจุบันกันเลยทีเดียว ซึ่งเราสามารถนำหนังแต่ละประเภทมาใช้ประโยชน์ต่างๆ ได้ โดยการแบ่งเป็น 2 จำพวกหลักๆ นั่นก็คือ

เครื่องหนังแบ่งออกเป็น 2 จำพวกหลักๆ คือ

1. หนังดิบ

เป็นหนังที่ได้มาจากสัตว์ที่ตายแล้ว โดยนิยมนำเอาหนังดิบมาใช้ทำเป็น หนังกลอง และหนังตะลุง

2. หนังฟอก

เป็นการนำ หนังดิบ มาฟอกแบบชนิดต่างๆ เช่น “การฟอกฝาด” จะใช้ส่วนประกอบจาก พืช อย่างเช่น เปลือกไม้, เนื้อไม้, ผลจากต้นไม้ และรากไม้ การฟอกฝาดจะ ทำด้วยมือ และใช้เวลา แช่หนัง ในบ่อฟอกนานถึง 2 เดือน, “การฟอกโครม” เป็นการฟอกที่ทำในถังหมุนซึ่งจะใส่สารเคมีพวกเกลือของโครเมียม เช่น โครมิก (Chromic) เป็นตัวฟอก และการฟอกโครมเป็นที่ต้องการของตลาดอย่างมาก เนื่องจากสารเคมีราคาถูก, ใช้เวลาในการฟอกไม่นาน กระบวนการฟอก ทำให้หนังนั้นมีสีสันที่สวยงาม, ผิวเรียบอ่อนนุ่ม, ได้ความหนาตามที่ต้องการและหนังไม่เน่าเปื่อย ซึ่งกระบวนการฟอกนั้นจะแตกต่างกันออกไปตามแต่ละชนิดของหนังสัตว์และการใช้งานด้วยเช่นกัน

ลักษณะที่ชัดเจนของหนังแท้ จะมีรูขุมขนของผิวและลวดลายที่เป็นธรรมชาติ ท้องของหนังจะเป็นเส้นใย และมีกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ ซึ่งต้องการการดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษ หนังแท้นี้ สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ชั้น คือ

  1. Grain : เป็นหนังผิวชั้นบนสุดซึ่งมีลวดลาย และรูขุมขนที่ยังคงชัดเจน เป็นหนังที่มี คุณภาพดีที่สุด เหมาะสำหรับใช้ เป็นส่วนหน้าของชิ้นงาน
  2. Split หรือ หนังท้อง : เป็นหนังชั้นกลางที่ถูกปาดผิวชั้นบนออกไป ส่วนมากนิยมแปรรูปเป็นหนัง Nubuck , Suede เป็นที่ได้รับความนิยมเพราะเป็นหนังที่ยังคงมีคุณภาพดีสามารถใช้งานได้หลากหลายและมีราคาที่ถูกกว่าหนังผิว
  3. Lining : หนังท้อง เป็นชั้นล่างสุดของหนังแท้ ส่วนมากถูกนำไปแปรรูปเป็นหนังกลับ หรือ ส่วนซับในของกระเป๋า เพราะมี ราคาที่ถูกและระบายอากาศได้ดี

หนังแท้แยกออกเป็น 5 ประเภทหลักๆ

หนังแท้ แต่ละชนิดจะถูกนำมาใช้ประโยชน์แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติและลักษณะของตัวหนัง ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 5 ประเภทหลักๆ ได้ดังนี้

เครื่องหนัง – นูบัค (Nubuck leather)

นิยมนำหนัง “ชั้นกลาง (Split)” มาทำเป็นเครื่องหนัง โดยผ่านกระบวนการฟอกแบบพิเศษ ไม่มีการลง น้ำมันทำให้หนังยังคงสภาพได้อย่างเป็นธรรมชาติ เมื่อเอามือสัมผัสจะมีขนสั้นๆ ให้ความรู้สึกที่นุ่ม, มีความทนทานที่สูง ส่วนใหญ่นำไปเป็นวัตถุดิบในการผลิตเครื่องแต่งกายและเฟอร์นิเจอร์

  • พื้นผิว : มีขนสั้นๆ ที่อ่อนนุ่ม
  • น้ำหนัก : ปานกลาง
  • ระบายอากาศ : ดีมาก
  • ความทนทาน : 10 – 15 ปี ขึ้นอยู่กับวิธีของการใช้งาน
  • ความชื้นและเชื้อรา : อ่อนแอต่อความชื้น ทำให้เกิดเชื้อราได้ง่าย
  • ริ้วรอย : ผิวสัมผัสเกิดรอยขีดข่วนได้ง่าย (แค่ใช้นิ้วลูบรอยเบาๆ รอยก็จะหายไป)
  • ราคา : มีราคาสูงกว่าประเภทหนังกลับ

เครื่องหนัง – กลับ (Suede leather)

นิยมนำหนัง “ชั้นกลาง (Split)” กลับหนังด้านในของหนังออกมาเป็นหนังบริเวณหน้าท้อง โดยผ่านกระบวนการฟอกโครม ทำมาจากหนังสัตว์ โค, กระบือ, แกะ และแพะ ซึ่งมีเส้นใยสานกันอยู่แน่นอย่างเป็นธรรมชาติ เมื่อสัมผัสจะมีความนุ่ม มีลักษณะขนฟู, ผิวมีความเรียบสม่ำเสมอ, ไม่มีตำหนิรอยแผล ส่วนใหญ่นิยมนำมาทำเป็นรองเท้าหนังกลับ, กระเป๋าหนังกลับ

  • พื้นผิว : ผิวหนังนิ่ม และมีความยืดหยุ่นที่พอดี
  • น้ำหนัก : ปานกลาง
  • ระบายอากาศ : ดีมาก
  • ความทนทาน : 10 – 15 ปี ขึ้นอยู่กับรูปแบบการใช้งาน
  • ความชื้นและเชื้อรา : ไม่ทนต่อความชื้นและดูดซับของเหลวได้ไว ทำให้เกิดเชื้อราได้ง่าย
  • ริ้วรอย : เกิดรอยขีดข่วนได้ง่าย
  • ราคา : ราคาถูกกว่าประเภทหนังนูบัค

เครื่องหนัง – ออยล์ (Oiled leather)

นิยมนำหนังผิว “ชั้นบน (Grain)” ผ่านกระบวนการฟอกด้วยน้ำมันธรรมชาติ มีผิวสัมผัสที่นุ่มมือสามารถกันการซึมซับของน้ำได้เป็นอย่างดี ในสมัยโบราณหนังออยล์จะมีวิธีการย้อมด้วยไขมันจากสมองของวัว เพราะในสมัยนั้นยังไม่มีสารเคมีหรือน้ำมันสังเคราะห์ และส่วนใหญ่นิยมนำมาทำเป็นกระเป๋าสตางค์

  • พื้นผิว : มีผิวที่หนา มีความนุ่มและลื่นมือ
  • น้ำหนัก : ค่อนข้างสูง
  • ระบายอากาศ : ได้ดี
  • ความทนทาน : 15 – 20 ปี ขึ้นอยู่กับการใช้งาน
  • ความชื้นและเชื้อรา : ทนต่อความชื้นได้ดี เกิดเชื้อราได้ยาก
  • ริ้วรอย : ป้องกันการเกิดริ้วรอยได้เป็นอย่างดี
  • ราคา : แพงกว่าประเภทหนัง Suede และ Nubuck

เครื่องหนัง – ชามัวร์ (Chamois leather)

นิยมใช้หนังผิว “ชั้นบน (Grain)” ของเลียงผาหรือแกะภูเขา ผ่านกระบวนการฟอกด้วยน้ำมันจากสัตว์ทะเล มีคุณสมบัติดูดซับน้ำได้ดี, ผิวนุ่ม ไม่ทำให้เกิดรอยขีดข่วนระหว่างใช้งาน มีราคาสูง ส่วนใหญ่นำมาเช็ดทำความสะอาดสิ่งของต่างๆ แต่ปัจจุบันนิยมนำแพะมาทำเป็นหนังแทน เพราะเลียงผามีน้อยและหายาก

  • พื้นผิว : ผิวเรียบนุ่ม
  • น้ำหนัก : ปานกลาง
  • ระบายอากาศ : ได้ดี
  • ความทนทาน : 15 – 20 ปี ขึ้นอยู่กับการใช้งาน
  • ความชื้นและเชื้อรา : ดูดซับน้ำได้ดีและเกิดเชื้อราได้ง่าย
  • ริ้วรอย : ป้องกันรอยขีดข่วนได้ดี
  • ราคา : ราคาสูงกว่าหนังประเภทอื่น

เครื่องหนัง – นัปป้า (Nappa leather)

นิยมนำหนังผิว “ชั้นบน (Grain)” ของหนังวัว โดยผ่านกระบวนการฟอกโครม มีผิวสัมผัสที่เรียบ, เนื้อนิ่มส่วนใหญ่นิยมนำมาทำเป็น กระเป๋า, ร้องเท้า, โซฟาและเฟอร์นิเจอร์

  • พื้นผิว : มีความหนา ผิวเนื้อนิ่ม
  • น้ำหนัก : ปานกลาง
  • ระบายอากาศ : ได้ดี
  • ความทนทาน : 10 – 15 ปี ขึ้นอยู่กับการใช้งาน
  • ความชื้นและเชื้อรา : ป้องกันความชื้นได้เป็นอย่างดี
  • ริ้วรอย : ป้องกันรอยขีดข่วนได้ดี
  • ราคา : ถูกกว่าหนังแท้ประเภทอื่น

หนังแท้ กับ หนังเทียม ต่างกันอย่างไร?